Assignment 2

คำถาม 
1.จงอธิบายการทำงานของ Internet
2.เมื่อนักศึกษาต้องการใช้ internet กับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร
3.Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร
4.3G และ ADSL มีความแตกต่างกันอย่างไร
5.IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.ให้อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
7.post Link ของ Assignment 2 ที่ทำ พร้อมชื่อและรหัสนักศึกษาใน weblog ตามกลุ่มใน assignment 2 ที่ kpadilue888.wordpress.com

คำตอบ

1.จงอธิบายการทำงานของ Internet

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

การทำงานของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากยิ่งหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network)  กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางดโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง

 

2.เมื่อนักศึกษาต้องการใช้ internet กับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังรูป

ต่อเน็ตกับคอม

องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล

1. โทรศัพท์

2. เครื่องคอมพิวเตอร์

3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน

4. โมเด็ม (Modem)

 

3.Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร

“โฮมเน็ตเวิร์ก” ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การนำแค่อุปกรณ์ที่เป็นเฉพาะคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงด้วยวิธีการต่างๆ ให้เป็นระบบเครือข่ายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นทีวี วิทยุ เครื่องซักผ้า หรือเตาไมโครเวฟ ตู้เย็นฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของโฮมเน็ตเวิร์กทั้งนั้น หลายๆ คนอาจจะงงว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ มาเป็นส่วนหนึ่งโฮมเน็ตเวิร์กได้อย่างไรกัน ไม่น่าจะเป็นไปได้ อย่าเพิ่งงงค่ะ แนวคิดเหล่านี้เกิดจากการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายเข้าไปเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ภายในระบบเครือข่าย และสามารถรับคำสั่งในระยะไกลผ่านระบบเครือข่ายได้เช่นกัน โดยมีคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่เป็นโฮมเกตเวย์เป็นศูนย์กลาง ยกตัวอย่างเช่น โฆษณาที่เราเห็นกันทางทีวี ในเรื่องของการใช้โทรศัพท์มือถือโทรเข้ามาสั่งให้วิดีโอตั้งโปรแกรมบันทึกฟุตบอลนัดที่รอคอย หรือแม้แต่การเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้เราสามารถสั่งซื้อของผ่านตู้เย็นได้ อาจจะฟังดูล้ำยุคไปสักนิด แต่เป็นแนวคิดที่มีผู้คิดขึ้นมาใช้สำหรับอนาคตกันแล้ว

สำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ในเครือข่าย เราต้องกำหนดเส้นทางเข้าออกของอินเตอร์เน็ต ( Gateway) ให้กับเครื่องที่เหลือเหล่านั้นด้วย เพื่อให้ใช้อินเตอร์เน็ตได้ สำหรับทางเข้าออกก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้ติดตั้งโมเด็มไว้นั่นเอง 

เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มีโมเด็มติดตั้งไว้ ได้เชื่อมต่อกับ ISP แล้ว คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใน Home Network ก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ทันที รวมทั้งเครื่องที่แชร์อินเตอร์เน็ตเองด้วย

 

4.3G และ ADSL มีความแตกต่างกันอย่างไร

อินเตอร์เน็ตบ้านจะใช้งาน ต่างรูปแบบกับ 3G โดย ADSL ใช้ได้เต็มสปีดไม่จำกัดปริมาณข้อมูล และความเร็วเสถียรที่กว่า 3G ทุกเครือค่าย แพ็คเกจ UNLIMITED จะมีนโยบายข้อหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ใช้ได้ไม่จำกัด แต่จะใช้งานที่ความเร็วสูงสุด อยู่ที่ข้อมูลระดับหนึ่ง

เช่น AIS 3G หรือ TRUE 3G จะใช้ที่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3GB. 

ถ้าเกิน 3GB. ขึ้นไป จะถูกลดสปีดลงมา

โดย TRUE เหลืออยู่ที่ 256 kbps. 

ถ้าเป็น AIS จำกัดไว้ที่ 384 kbps.

เรียกว่า fair usage policy เพื่อป้องกันคนเอาไปใช้งานผิดประเภท เช่นโหลดบิท โหลดเพลง ฯลฯ อีกอย่าง ถึงจะเคลมไว้ที่ความเร็วสูงสุด21 Mbps แต่เมื่อใช้งานจริง ก็จะไม่เกิน 12 Mbps โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น smart phone ก็จะมีไม่กี่รุ่น ที่สามารถรองรับได้ที่ความเร็วนี้ได้

 

5.IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร

5.1 ) IPv6
IPv6 ย่อมาจาก “Internet Protocol Version 6″ ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป  เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 (“IPv4″)

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า “IPng” (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ

5.2 ) Cloud Computing Software Development
Cloud Computing เป็นเรื่องที่ใก้ลตัวเรา ทั้งนี้ในปัจจุบันเราได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่าน Cloud กันอย่างมากมายอาทิเช่น Facebook, Gmail, Hotmail และ Dropbox ระบบซอฟต์แวร์เหล่านี้ทำงานอยู่บน Data Center ขนาดใหญ่ มีความเสถียรและสามารถยืดยุ่น (Elastic) ได้ตามจำนวนผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนการใช้ไฟฟ้่าในบ้านหรือองค์กรขนาดใหญ่ได้ ที่เราไม่จำเป็นต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเอง แต่เราสามารถมอบหมายหน้าที่การผลิตไฟฟ้านั้นให้กับการไฟฟ้า และเราจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง ซอฟต์แวร์ที่อยู่บน Cloud ก็เช่นกัน เราจะใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ให้บริการโดยไม่ต้องมี Server หรือ Data center ในบ้านหรือองค์กรและจ่ายใช้ซอฟต์แวร์ตามการใช้งานจริง

5.3 ) WebRTC
WebRTC ชื่อเต็มคือ Web Real-Time Communication เป็น javascript api ใหม่ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ โดย Google ได้นำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์มาเป็น OpenSource Project ของโครงการ WebRTC ไปแล้ว ซึ่งโครงการ WebRTC คือการสร้าง API มาตรฐานสำหรับการดึงไมโครโฟนและเว็บแคมของคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เว็บสามารถดึงภาพและเสียงจากเครื่องแล้วส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ตามเวลาจริง ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงาน


แหล่งที่มาของข้อมูล

http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=13

http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.htm

http://www.arip.co.th/articles.php?id=405820
http://www.bcoms.net/network/sharing.asp

http://www.kwamru.com/113

http://suraban.wordpress.com/2011/04/27/ipv6-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
http://www.imcinstitute.com/index.php?option=com_content&view=article&id=77&Itemid=542
http://inetbangkok.in.th/?p=918

ใส่ความเห็น